ข้อบังคับสมาคมฯ

 

ข้อบังคับ สมาคมศิษย์เก่าบวรนิเวศ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวร

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พ.ศ.2552

 

หมวดที่ 1

ความทั่วไป

 

ข้อ 1.   สมาคมนี้ชื่อว่า “สมาคมศิษย์เก่าบวรนิเวศในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก


ข้อ 2.   เครื่องหมายของสมาคม

ประกอบด้วย กรอบสี่เหลี่ยมขลิบสีเหลืองที่มีลักษณะโค้งมนเล็กน้อย ภายในมีพระยานาค 2 ตัว ทูลเพรช มีรัศมีโดยรอบ ขดอยู่บนแท่นอักษร ศบน. พื้นภายในสีดํา และพื้นรอบๆ พระยานาคมีสีเหลือง

A yellow and black logo

AI-generated content may be incorrect.

 

ข้อ 3.   สํานักงานใหญ่ของสมาคม ตั้ง ณ โรงเรียนวัดบวรนิเวศ บางลําภู พระนคร กรุงเทพฯ

10200

สํานักงานสาขาของสมาคม ตั้ง ณ อาคารเหลือง-ดํา เลขที่ 538/3 ถนนสามเสน เขตดุสิต

กรุงเทพฯ 10300


ข้อ 4.   วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ

4.1 ผดุงเกียรติคุณชื่อเสียง ของโรงเรียนวัดบวรนิเวศให้เฟื่องฟูตลอดจนช่วยเหลือเกี่ยวกับ การศึกษา และการกีฬาของโรงเรียน

4.2 ส่งเสริมสามัคคีธรรม มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่ชอบที่ควร เช่น การ

แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

4.3 ช่วยแนะแนวการศึกษาและอาชีพแก่นักเรียนในเมื่อถึงโอกาสอันควรที่จักพึงกระทํา

รวมทั้งช่วยติดต่อกับสถาบันการศึกษาหรือสํานักอาชีพเพื่อประโยชน์แก่นักเรียน

4.4 ดําเนินการประการอื่นที่ไม่ขัดต่อนโยบายของรัฐ

 

หมวดที่ 2

สมาชิก


ข้อ 5.   สมาชิกของสมาคมมี 2 ประเภท คือ

(๑) สมาชิกกิตติมศักดิ์

(๒) สมาชิกสามัญ

 

สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอุปการะคุณแก่สมาคมหรือแก่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญเป็นสมาชิกหรือซึ่งที่ประชุมใหญ่มี มติให้เชิญมาเป็นสมาชิก เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหรือที่ประชุมใหญ่ มีมติให้เชิญผู้ใดเป็น สมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้นายกมีหนังสือเชิญตามมตินั้น สภาพการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ เริ่มแต่วันที่ ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้รับเชิญว่ายอมรับเป็นสมาชิก

สมาชิกสามัญ ได้แก่ อาจารย์ ครู หรือเคยเป็นอาจารย์ ครูในโรงเรียนวัดบวรนิเวศหรือ สํานักเรียนที่เกี่ยวเนื่องอยู่กับโรงเรียนวัดบวรนิเวศ เช่น สํานักโรงเรียนมหามกุฏราชวิทยาลัย หรือวัด บวรนิเวศ เป็นต้น หรือเคยเป็นนักเรียนอยู่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ หรือสํานักเรียนที่เกี่ยวเนื่องอยู่กับ โรงเรียนวัดบวรนิเวศดังในข้อ (๑)

 

ข้อ 6.   สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

6.1 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว

6.2 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย

6.3 ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

6.4 ไม่ต้องคําพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้  ความสามารถ หรือต้องโทษจําคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษ การต้องคําพิพากษาของศาลถึงที่สุดในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็น สมาชิก หรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น

 

ข้อ 7.   ค่าลงทะเบียน และคําบํารุงสมาคม

7.1 สมาชิกสามัญ จะต้องเสียค่าลงทะเบียนเป็นครั้งแรก       20 บาท

                                     ค่าบํารุงเป็นรายปีๆ ละ       100 บาท

                                              ค่าบํารุงตลอดชีพเป็นเงิน       200 บาท

7.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ มีต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบํารุงสมาคมแต่อย่างใดทั้งสิ้น


ข้อ 8.   การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมยื่นใบ สมัครตามแบบของสมาคม ต่อเลขานุการ ให้เลขานุการนําไปสมัครเสนอ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการสมัคร ผลเป็น ประการใดให้เลขานุการ เป็นผู้แจ้ง ให้ผู้สมัครทราบ โดยเร็ว


ข้อ 9.   ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้รับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้นั้นชําระเงิน คําลงทะเบียน และค่าบํารุงสมาคมให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการ และสมาชิกภาพของผู้สมัคร ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัคร ได้ชําระเงินค่าลงทะเบียน และค่า บํารุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัครไม่ชําระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบํารุงภายในกําหนด ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก


ข้อ 10. สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์ ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคําเชิญของผู้ที่

คณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสังคม ได้มาถึงยังสมาคม

 

ข้อ 11. สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้

11.1 ตาย

11.2 ลาออก โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้ พิจารณา อนุมัติ และสมาชิกผู้นั้น ได้ชําระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย

11.3 ขาดคุณสมบัติสมาชิก

11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคม หรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจาก ทะเบียน เพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินําความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม

 


ข้อ 12. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

12.1 มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคม โดยเท่าเทียมกัน

12.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ

12.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

12.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม

12.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการ สมาคมและมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุมได้คนละ 1 คะแนนเสียง

12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม

12.7 มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 100 คนร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้

12.8 มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด

12.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม

12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดําเนินกิจการต่างๆ ของสมาคม

12.11 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

 

หมวดที่ 3

การดําเนินกิจการสมาคม


ข้อ 13. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทําหน้าที่บริหารกิจการของสมาคมมีจํานวนอย่างน้อย 9 คน อย่างมากไม่เกิน 21 คน คณะกรรมการนี้ต้องเป็นสมาชิกสามัญที่ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ ประชุมใหญ่ของสมาคม และให้ผู้ที่ได้เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกันเองเป็นนายก สมาคม 1 คน และอุปนายก 2 คน สําหรับตําแหน่งกรรมการในตําแหน่งอื่นๆ ให้นายกเป็นผู้ แต่งตั้งผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ เข้าดํารงตําแหน่งต่างๆ ของสมาคมตามที่ได้ กําหนดไว้ ซึ่งตําแหน่งของกรรมการสมาคมมีตําแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้

13.1 นายกสมาคม                  ทําหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคมเป็น

ผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และทําหน้าที่

เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ และการประชุมใหญ่

ของสมาคม

13.2 อุปนายก                       ทําหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม

ปฏิบัติตามหน้าที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทําหน้าที่แทน

นายกสมาคม เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่ หรือไม่สามารถจะปฏิบัติ

หน้าที่ได้ แต่การทําหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายก

ตามลำดับตําแหน่งเป็นผู้กระทําการแทน

13.3 เลขานุการ                     ทําหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมด เป็นหัวหน้า

เจ้าหน้าที่ของสมาคมในการปฏิบัติการของสมาคมและปฏิบัติ

ตามคําสั่งของนายกสมาคมตลอดจนทําหน้าที่เป็นเลขานุการใน

การประชุมต่างๆ ของสมาคม

13.4 เหรัญญิก                      มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคมเป็นผู้จัดทําบัญชี

รายรับรายจ่ายบัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐาน ต่างๆ ของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ

13.5 ปฏิคม                          มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้า

ในการจัดเตรียมสถานที่ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุม ต่างๆ ของสมาคม

 

13.6 นายทะเบียน                  มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคม

ประสานงานกับเหรัญญิก ในการเรียกเก็บเงินค่าบํารุงสมาคม จากสมาชิก

13.7 ประชาสัมพันธ์                มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้ สมาชิกและบุคคล โดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

13.8. กรรมการตําแหน่งอื่นๆ      ตามความเหมาะสม ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควร

กําหนดให้มีขึ้นโดยมีจํานวนเมื่อรวมกับตําแหน่งกรรมการ

ตามข้างต้นแล้ว จะต้องไม่เกินจํานวนที่ข้อบังคับได้กําหนด

ไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กําหนดตําแหน่งก็ถือว่าเป็น

กรรมการกลาง


 

ข้อ 14. คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตําแหน่งได้คราวละ 2 ปี แต่นายกสมาคมมีวาระการ ดํารงตําแหน่งไม่เกิน 2 สมัย (4 ปี) และเมื่อคณะกรรมการอยู่ตําแหน่งครบกําหนดตามวาระ แล้วแต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ ก็ให้ คณะกรรมการที่ครบกําหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อน จนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่ จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาต ให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทําการส่งและรับมอบงานกันระหว่าง คณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ


ข้อ 15. ตําแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกําหนดตามวาระ ก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง สมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดํารงตําแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดํารงตําแหน่ง แทนอยู่ในตําแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น


ข้อ 16. กรรมการอาจจะพ้นจากตําแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ

16.1 ตาย

16.2 ลาออก

16.3 ขาดจากสมาชิกภาพ

16.4 ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตําแหน่ง


 

ข้อ 17. กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตําแหน่งกรรมการ ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ

คณะกรรมการมีมติให้ออก

 

ข้อ 18. อํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ

18.1 มีอํานาจออกระเบียบปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้น จะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้

18.2 มีอํานาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม

18.3 มีอํานาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรือนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษาหรือ อนุกรรมการจะสามารถอยู่ในตําแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

18.4 มีอํานาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจําปี และประชุมใหญ่วิสามัญ

18.5 มีอํานาจแต่งตั้งกรรมการในตําแหน่งอื่นๆ ที่ยังมิได้กําหนดไว้ในข้อบังคับนี้

18.6 มีอํานาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอํานาจ อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กําหนดไว้

18.7 มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม

18.8 มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญ จํานวน 1 ใน 3 ของสมาชิก ทั้งหมดหรือไม่น้อยกว่า 100 คน ได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการ นี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

18.9 มีหน้าที่จัดทําเอกสารหลักฐานต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดําเนิน กิจกรรมต่างๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถจะให้สมาชิกตรวจดู ได้เมื่อสมาชิกร้องขอ

18.10 จัดทําบันทึกการประชุมต่างๆ ของสมาคม เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และจัดส่งให้สมาชิกได้

รับทราบ

18.11 มีหน้าที่อื่นๆ ตามที่ข้อบังคับได้กําหนดไว้

 

ข้อ 19. คณะกรรมการจะต้องประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้จัดขึ้นภายในวันที่ 30 ของทุกๆ เดือน

ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม


ข้อ 20. การประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุมมติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้ กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้ถือเอาคะแนนเสียงมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่านั้น ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด


ข้อ 21. ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทําหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

 

 

หมวดที่ 4

การประชุมใหญ่


ข้อ 22. การประชุมใหญ่ของสมาคม มี 2 ชนิด คือ

22.1 ประชุมใหญ่สามัญ

22.2 ประชุมใหญ่วิสามัญ


ข้อ 23. คณะกรรมการจะต้องจัดให้การประชุมใหญ่สามัญประจําปีๆ ละ 1 ครั้ง ภายในเดือน มีนาคม

ของทุกปี


ข้อ 24. การประชุมใหญ่วิสามัญ อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้น ด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิก ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดหรือไม่น้อย กว่า 100 คน ร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดมีขึ้น


ข้อ 25. การแจ้งกําหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกําหนดนัดประชุมใหญ่สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจน โดนจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน และประกาศแจ้งกําหนดนัด ประชุมไว้ ณ สํานักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนถึงกําหนดการประชุมใหญ่


ข้อ 26. การประชุมใหญ่สามัญประจําปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้

26.1 แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี

26.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ

26.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบวาระกําหนด

26.4 เลือกตั้งผู้สอบบัญชี

26.5 เรื่องอื่นๆ ถ้ามี


ข้อ 27. ในการประชุมใหญ่สามัญประจําปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้า ร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด หรือไม่น้อยกว่า 50 คน จึงจะถือว่าครบ องค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกําหนดเวลาประชุมยังมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมไม่ครบองค์ประชุม ให้ คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้มีการประชุมขึ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก สําหรับการประชุมในครั้งหลังนี้ ถ้ามีสมาชิกสามัญเข้าร่วม ประชุมเป็นจํานวนเท่าใด ก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้น จากการร้องขอของสมาชิก ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก


ข้อ 28. การลงมติต่างๆ ในที่ประชุมใหญ่นั้น ถ้าข้อบังคับมิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนน เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในที่ ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

 

ข้อ 29. ในการประชุมใหญ่ของสมาคม ถ้านายกสมาคม และอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทําการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งให้ทําหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

 

 

หมวดที่ 5

การเงินและทรัพย์สิน


ข้อ 30. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคม ถ้ามีให้นําฝากไว้ในธนาคาร ตามมติที่คณะกรรมการเห็นชอบ


ข้อ 31. การลงนามในใบถอนเงินของสมาคมที่ฝากไว้ในธนาคาร จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทําการแทนลงนามร่วมกับเหรัญญิก หรือเลขานุการ พร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้ได้


ข้อ 32. ให้นายกสมาคมมีอํานาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 50,000.00 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ และคณะกรรมการจะอนุมัติให้จ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน 100,000.00 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ถ้าจําเป็นจะต้องจ่ายเงินเกินกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม


ข้อ 33. ให้เหรัญญิกมีอํานาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน 20,000.00 บาท (สองหมื่นบาท ถ้วน) ถ้าเกินกว่าจํานวนนี้ จะต้องนําฝากธนาคารในบัญชีของสมาคม ทันทีที่โอกาสอํานวยให้


ข้อ 34. เหรัญญิก จะต้องทําบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับ หรือจ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทําการ แทนร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทําการแทน พร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง


ข้อ 35. ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมและจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต


ข้อ 36. ผู้สอบบัญชี มีอํานาจหน้าที่จะเรียกเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจาก คณะกรรมการ และสามารถจะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถาม เกี่ยวกับ บัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้


ข้อ 37. คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ

 


 

หมวดที่ 6

การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม


ข้อ 38. ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญ ทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่ในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่ น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด


ข้อ 39. การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุ ของกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของสมาชิกสามัญทั้งหมด


ข้อ 40. เมื่อสมาคมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่ หลังจากที่ได้ชําระ บัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นของโรงเรียนวัดบวรนิเวศ (ผู้รับต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์)

 



หมวดที่ 7

บทเฉพาะกาล


ข้อ 41. ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคลเป็นต้นไป


ข้อ 42. เมื่อสมาคมได้รับอนุญาตให้แก้ไขข้อบังคับจากทางราชการ ก็ให้ถือว่าผู้เริ่มการทั้งหมดเป็น สมาชิกสามัญ และสมาชิกภาพของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้น เริ่มตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป

 

A close-up of a signature

AI-generated content may be incorrect.



{fullWidth}